วิธีการติดตั้งแผ่นพื้น Hollow Core
การติดตั้ง
แผ่นพื้น Hollow Core เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการก่อสร้าง แผ่นพื้น Hollow Core ถือเป็นแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับพื้นทั่วไปที่มีความหนาเท่ากันลดความหนักของโครงสร้างเหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วและประหยัดทรัพยากรในการก่อสร้าง (
อ่านบทความ ‘แผ่นพื้น Hollow Core คืออะไร เหมาะกับงานก่อสร้างแบบไหน’)
ในบทความนี้เราจะสำรวจหลักการและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งแผ่นพื้นอย่างละเอียด ตั้งแต่การเตรียมคานเพื่อรองรับแผ่นพื้น Hollow Core การจัดเรียงแผ่นพื้น จนไปถึงขั้นตอนอื่นๆที่จะช่วยทำให้การติดตั้งแผ่นพื้น Hollow Core มีความสะดวกและรวดเร็ว
การเตรียมคานรองรับแผ่นพื้น Hollow Core
- คานจะต้องมีแนว (Alignment) ที่ถูกต้อง ค่าคลาดเคลื่อนไม่ควรเกิน ± 2 ซม.
- คานจะต้องมีระดับ (Level) หลังคานที่ถูกต้องและราบเรียบ
- คานจะต้องมีความราบเรียบที่ผิวคานอย่างสม่ำเสมอตลอดแนวคาน ความราบเรียบนี้ หมายถึงราบเรียบใกล้เคียงกับการฉาบปูนที่ได้มาตรฐาน ในขณะเทคานควรใช้เกียงปาดและฉาบหลังคานให้เรียบที่สุด ถ้าหากหลังจากคานเรียบมากเท่าใด แผ่นพื้นย่อมรับน้ำหนักได้ดีเท่านั้น
ขั้นตอนการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป Hollow Core
เมื่อจะทำการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป ผู้ก่อสร้างควรจะตรวจเช็คปรับระดับหลังคานที่จะวางแผ่นพื้นให้ได้ระดับและสะอาดเรียบร้อยเสียก่อน เพื่อที่จะวางแผ่นพื้นได้สะดวกและเพื่อป้องกันการแตกร้าวของแผ่นด้วย
- นำแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาจัดเรียงชิดกันโดยตลอดตามแบบที่ระบุไว้ และถ้ามีเชียร์คีย์ ควรจะเชื่อมก่อน (ในกรณีที่เป็นคานเหล็ก) ผิวบนคานหรือบ่าสำหรับรองแผ่นพื้น Hollow Core ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 5 ซม. ต่อจากนั้นควรยาร่องรอยต่อระหว่างแผ่นพื้น (Shear Key) ทันทีโดนให้ยาร่องรอยต่อด้วยมอร์ต้า เพราะหากปล่อยไว้อาจมีเศษวัสดุตกลงในร่อง และเพื่อให้พื้น Hollow Core มีพฤติกรรมที่ต่อเนื่อง มีการกระจายน้ำหนักระหว่างแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ดี
- คานตัวที่ประกบด้านข้างของแผ่น จะต้องมีความกว้างของคานตรงตามแบบไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เหล็กหรือเศษคอนกรีตขรุขระติดด้านข้างของคาน ในทางปฏิบัติที่เหมาะสม ควรให้ส่วนที่แผ่นพื้นชิด มีความกว้างประมาณ 2 ซม. หรือจะทำการหล่อคานนี้ภายหลังติดตั้งแผ่นพื้นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้
- การบากแผ่น Hollow Core เพื่อเปิด Opening หรือหลบเสา จะต้องมีการเสริมเหล็กพิเศษใน Topping เพื่อป้องกันการแตกร้าว
- ผูกเหล็กตะแกรง ขนาด 6 มม. เป็นตะแกรงระยะห่าง @ 0.20 m. หรือ Wire Mesh 3 mm.@ 0.20 m. และที่รอยต่อหัวแผ่นและท้ายแผ่นพื้น (อยู่บริเวณเหนือคาน) ควรมีการเสริมเหล็กเพิ่มขึ้นอย่างน้อยอีกเท่าตัว เพื่อลดการแตกร้าวเนื่องจากการ Negative Moment อนึ่ง ที่บริเวณหัวเสาหากมีการเสริมเหล็กตะแกรงเพิ่ม จะทำให้โครงสร้างทั้งหมดมีความแข็งแรงมากขึ้น การเสริมเหล็กต้องเสริม ที่ส่วนบนของแผ่นพื้น แล้วเทคอนกรีตทับหน้า (Topping) หนาอย่างน้อย 5 cm. หรือตามที่แบบกำหนด โดยใช้คอนกรีตมีกำลังอัดประลัยไม่น้อยกว่า 210 ksc. แล้วทำการปาดหน้า ปรับระดับให้เรียบ
- เพื่อให้แผ่นยึดติดกับคานดียิ่งขึ้น ควรเสริมเหล็กหนวดกุ้ง Ø 6 มม.@ 0.50 ม. ยื่นจากคานฝังใน Topping
- หลังจากเทคอนกรีตทับหน้าแล้ว ควรบ่มน้ำหรือบ่มวิธีอื่นๆต่อไปอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
สรุป
หากคุณทราบรายละเอียดวิธีการติดตั้งแผ่นพื้น Hollow Core นี้ จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้นว่าเหมาะสมสำหรับโครงการของคุณหรือไม่ และมีความมั่นใจในการดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้อย่างถูกต้องและปลอดภัย CMK Concrete หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการเริ่มต้นโครงการก่อสร้างของคุณเพื่อความแข็งแรงคงทนในระยะยาว
❗ คุณกำลังมองหา แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปมาตรฐาน มอก. อยู่หรือเปล่า?
แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปต้อง CMK Concrete เท่านั้น
✅ CMK Concrete ประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี
✅ รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
✅ แผ่นความยาวได้ถึง 11 เมตร
✅ บริการรวดเร็วราคายุติธรรม
สนใจสั่งซื่อแผ่นพื้นคอนกรีต CMK?